วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นพลเมืองโลก


สถาบันทางสังคม

หลักการสำคัญ/แนวคิดสำคัญ
ความเป็นพลเมืองโลก คือ การเป็นพลเมืองของประเทศต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปต่างๆ ในโลก ทุกคนเป็นหนึ่งในจำนวนพลเมืองโลกนับพันล้านคน ในขณะที่ทุกคนเป็นพลเมืองของประเทศด้วย และทุกคนต่างมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในโลกที่เหมือนกัน
การสร้างความตระหนักในสิ่งแวดล้อมระดับโลก (awareness)
1. อภิปรายเกี่ยวกับทรัพยากรของธรรมชาติที่ชาวโลกใช้ร่วมกัน
2. เลือกทรัพยากรธรรมชาติของโลกในข้อ 1 มา 1 อย่าง และหาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ ว่า ประเทศไทยได้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเกิดการเสื่อมโทรมอย่างไร และมีผลต่อประเทศอื่นหรือไม่
กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรของโลก (participation)
1. อภิปรายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่ชาวไทยมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากร
2. ศึกษข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกของทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของไทย หรือศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของไทยที่ทดแทนไม่ได้ และอภิปรายเชื่อมโยงความสำคัญของ การใช้ทรัพยากรของประเทศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
3. ศึกษาข้อมูลว่าประเทศไทยเคยมีส่วนช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ในด้านการประสบ ภัยพิบัติต่างๆ ทางธรรมชาติอย่างไร
4. ศึกษาค้นคว้าว่าประเทศไทยมีมรดกทางธรรมชาติใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อโลก

กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความรู้เรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของพลเมืองโลก (Global Citizen)
1. วิเคราะห์ Universal Declaration of Human Rights ของ UN เช่น ประเด็นสิทธิที่จะมีชีวิตและมีอิสระ เสรีภาพในการคิด การพูด การนับถือศาสนา การได้รับการศึกษา การทำงาน การรวมกันอย่างสันติ มีความเท่าเทียมกันและได้รับการปฏิบัติโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
2. ศึกษาการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น UN, UNEP, WWF, และ WHO ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของประชาชนที่ระบุไว้ใน Universal Declaration of Human Rights


กิจกรรมการสื่อสารในระดับโลก
1. ระบุเหตุการณ์สำคัญของโลกที่มีผลกระทบของประเทศอื่นๆ
2. วิเคราะห์บทบาทสำคัญของอินเทอร์เนตที่มีประชาชนทั่วโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น